วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทหารไทย

โครงงาน 
เรื่อง  ทหารบก
 



ผู้จัดทำ
นาย ชยพล คำดี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เลขที่ 7

เสนอ
นาย ธนดล คำเสมอ

โรงเรียนบัวเชดวิทยา
อำเภอ บัวเชด     จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์เขต 33




บทคัดย่อ
      โครงงานเรื่อง ประวัติทหารบก เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของทหาร
ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหาร ซึ่งป็นรั้วของประเทศชาติ ได้ศึกษาความเป็นมาของทหารบก
ความสำคัญของทหารบก มีความสำคัญมากในการเป็นทหาร ที่จะรับใช้ปะเทศชาติ
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติของทหารมาเรียบร้อยแล้ว
 ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้  กับชีวิตประจำวัน  รวมทั้งการทำงานของทหาร และความเสียสละ ต่อไป
ผลการศึกษาโครงงาน  โครงงานพบว่า ทหาร ก็เป็นอาชีพหนึ่งในที่สำคัญมากของประเทศ
 ถือว่าเรารู้จักประวัติของทหาร ไปอีกมุมหนึ่งแล้ว เป็นความรู้ในการนำไปใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
โดยสรุป นอกจากนี้ ยังจะนำความรู้นี้ ไปเผยแพร่ ให้กับโรงเรียน ชุมชน ในท้องถิ่น อีกด้วย


กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง เราคือ ประวัติของทหาร ผู้จัดทำได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์ธนดล  คำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานระหว่างดำเนินโครงงานได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ธนดล  คำเสมอ ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทาง และการตรวจสอบ การแก้ไขข้อบกพร่อง ของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอ กราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง

บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้ เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา อยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->กองทหารหน้า
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->กองปืนใหญ่อาสาญวน
กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่นๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ. 2395 และ พ.ศ. 2396 การศึกทั้ง 2 ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า "กองทหารหน้า" นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้
กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
จะเห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น 2 ประการ คือ
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->กรมทหารรักษาพระองค์
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->กรมทหารล้อมวัง
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->กรมทหารหน้า
<!--[if !supportLists]-->5.            <!--[endif]-->กรมทหารปืนใหญ่
<!--[if !supportLists]-->6.            <!--[endif]-->กรมทหารช้าง
<!--[if !supportLists]-->7.            <!--[endif]-->กรมทหารฝีพาย
พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการทหารอย่างใหม่เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี "ประกาศจัดการทหาร" ขึ้น โดยตั้ง "กรมยุทธนาธิการ" มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง "จอมทัพ" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็น "ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป" และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือ
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดย
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->ยกกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->จัดตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ลง ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร 3 ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ความยุ่งยากทางการเมือง
หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ในเดือนกันยายน ปี 2476 พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ
เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ. 2486 กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว
กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ. 2506 จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่ 2 เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้ง ณ สวนรื่นฤดี ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก็ตาม
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่างๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ
ครั้นเมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก
ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่างๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ระหว่างเวลา 08.49 - 09.29 นาฬิกา โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี
สำหรับหน่วยที่ใช้สถานที่ภายในอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ปัจจุบันประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 1
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->สำนักงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมยุทธการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมข่าวทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมกำลังพลทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมกิจการพลเรือนทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ประชาสัมพันธ์ หน่วยตรวจโรค ร้านสวัสดิการ ห้องจัดเลี้ยง ห้องเตรียมอาหาร ห้องอาหารนายทหารชั้นสัญญาบัตรและนายทหารชั้นประทวน ห้องประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก หน่วยสื่อสาร ห้องสมุด
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->สำนักงานที่ปรึกษา ทบ.
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมสารบรรณทหารบก
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 4
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->สำนักงานเลขานุการกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมการเงินทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อย บก.ทบ.
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 5
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->อาคารจอดรถสูง 9 ชั้น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า "กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"
การแบ่งเหล่า
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->กองทัพบกไทย มีการแบ่งเหล่าทหารบก ออกเป็นเหล่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ทหารราบ (ร.) เป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกไทย มีกำลังพลมากที่สุด มีหน้าที่เข้ารักษาพื้นที่
แบ่งออกเป็น 3 แบบ 1. ทหารราบยานนนต์ 2.ทหารราบยานเกราะ 3.ทหารราบเบา
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ทหารม้า (ม.) แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ทหารม้าลาดตระเวน
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยานสายพาน หรือยานหุ้มเกราะเป็นพาหนะในการรบ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ทหารม้ารถถัง ใช้รถถังเป็นอาวุธหลัก ในการปฏิบัติการรบ
<!--[if !supportLists]-->-                    <!--[endif]-->เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนุบสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ทหารปืนใหญ่ (ป.) ใช้ปืนใหญ่ ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบ
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->ทหารช่าง (ช.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานช่าง ก่อสร้าง ซ่อม หรือทำลาย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->ทหารสื่อสาร (ส.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->ทหารการข่าว (ขว.)
<!--[if !supportLists]-->-                    <!--[endif]-->เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ทหารสรรพาวุธ (สพ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะในการรบ
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->ทหารพลาธิการ (พธ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง ยุทธภัณฑ์ส่วนบุคคล
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->ทหารแพทย์ (พ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ในกลุ่มเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเป็นฝ่ายรักษาพยาบาลให้กับทหารและครอบครัวทหาร
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->ทหารขนส่ง (ขส.) เป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งกำลังพล และสิ่งอุปกรณ์
<!--[if !supportLists]-->-                    <!--[endif]-->นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ทหารสารบรรณ (สบ.) มีหน้าที่ดำเนินการด้านธุรการ เอกสาร ทะเบียนประวัติ และงานสัสดี
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->ทหารการเงิน (กง.) ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->ทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ดำเนินการด้านกฎหมาย การศาลทหาร และงานทนายทหาร
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->ทหารแผนที่ (ผท.) มีหน้าที่สำรวจและจัดทำ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
<!--[if !supportLists]-->5.            <!--[endif]-->ทหารการสัตว์ (กส.) มีหน้าที่ดูแลสัตว์ในราชการกองทัพ
<!--[if !supportLists]-->6.            <!--[endif]-->ทหารดุริยางค์ (ดย.) มีหน้าที่ให้ความบันเทิง
<!--[if !supportLists]-->7.            <!--[endif]-->สารวัตรทหาร (สห.) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยของทหาร
การจัดส่วนราชการ
กองทัพบก แบ่งส่วนราชการเป็น 7 ส่วนดังนี้ [1]
<!--[if !supportLists]-->1.            <!--[endif]-->ส่วนบัญชาการ
<!--[if !supportLists]-->2.            <!--[endif]-->ส่วนกำลังรบ
<!--[if !supportLists]-->3.            <!--[endif]-->ส่วนสนับสนุนการรบ
<!--[if !supportLists]-->4.            <!--[endif]-->ส่วนส่งกำลังบำรุง
<!--[if !supportLists]-->5.            <!--[endif]-->ส่วนภูมิภาค
<!--[if !supportLists]-->6.            <!--[endif]-->ส่วนการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->7.            <!--[endif]-->ส่วนช่วยพัฒนาประเทศ
ส่วนบัญชาการ[แก้]
ส่วนบัญชาการ (ฝ่ายเสนาธิการ)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สำนักงานเลขานุการกองทัพบก (สลก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมกำลังพลทหารบก (กพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (กบ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก (สปช.ทบ.)
ส่วนบัญชาการ(ฝ่ายกิจการพิเศษ)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมสารบรรณทหารบก (สบ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการเงินทหารบก (กง.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการสารวัตรทหารบก (สห.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมจเรทหารบก (จบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก (สตน.ทบ.)
ส่วนบัญชาการ (ฝ่ายยุทธบริการ)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการทหารช่าง (กช.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมแพทย์ทหารบก (พบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการทหารสื่อสาร (สส.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ตั้งกองบัญชาการที่กรุงเทพมหานคร หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล พื้นที่ภาคกลางตั้งแต่จังหวัดลพบุรี ยาวไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) เป็นกองพลทหารราบยานเกราะ รับผิดชอบชายแดนด้านตะวันออก ชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งหมด ตั้งอยู่ที่ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) รับผิดชอบชายแดนด้านตะวันตก ยาวไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ที่ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 11 (พล.ร.11) เป็นกองพลสำรอง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) ตั้งอยู่ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 3 (พล.ร.3) ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งอยู่ที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 6 (พล.ร.6) ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) เป็นกองพลใหม่ ตั้งอยู่ในค่ายติณสูลานนท์ จังหวัดขอนแก่น
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3) รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เป็นกองพลใหม่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ค่ายกรมรบพิเศษที่ 5
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1) ตั้งอยู่ที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4) รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายวชิราวุธจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีศูนย์บัญชาการส่วนหน้าอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อดูแลปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 5 (พล.ร.5) ดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ตั้งอยู่ที่ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) เดิมเป็นกองพลหนุน แต่จัดตั้งเป็นกองพลมาตรฐานหลังเกิดปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เดิมใช้ชื่อว่ากองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รับผิดชอบภารกิจเกี่ยวกับสงครามพิเศษ หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลรบพิเศษที่ 1 (พล.รพ.ศ. 1) มีที่ตั้งอยู่ในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กรมรบพิเศษที่ 2 (รพ.ศ. 2) ตั้งอยู่ในค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศ การต่อต้านอากาศยาน หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) ตั้งอยู่ที่ถนนเตชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่สำคัญในด้านการเฝ้าตรวจทางอากาศ ค้นหาอากาศยาน พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการปฏิบัติ
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองพลทหารช่าง (พล.ช)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองพันทหารช่างที่ 51 (ช.พัน.51)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมทหารสื่อสารที่ 1 (ส.1)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองพันบิน (พัน.บ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->(ขกท.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->(พัน.ปฐบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->(ร้อย.วศ.)
ส่วนส่งกำลังบำรุง[แก้]
มีจำนวน 9 กรม ดังนี้ [1]
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการทหารช่าง (กช.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการทหารสื่อสาร (สส.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมสรรพวุธทหารบก (สพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมแพทย์ทหารบก (พบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.)
ส่วนภูมิภาค[แก้]
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 12 (มทบ.12)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 13 (มทบ.13)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 14 (มทบ.14)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 21 (มทบ.21)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 22 (มทบ.22)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 23 (มทบ.23)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 24 (มทบ.24)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 31 (มทบ.31)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 32 (มทบ.32)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 41 (มทบ.41)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 42 (มทบ.42)
ส่วนการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->โรงเรียนทหารปืนใหญ่
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->โรงเรียนนายสิบทหารบก (รร.นส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ศูนย์การบินทหารบก (ศบบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.)
ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 1 (พล.พัฒนา 1)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 2 (พล.พัฒนา 2)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 3 (พล.พัฒนา 3)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4)
<!--[if !supportLists]-->o    <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 4 (พล.พัฒนา 4)
สื่อในความควบคุมของกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ให้เอกชนเช่าสัมปทาน)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เครือข่ายทั่วประเทศ 126 สถานี



วัตถุประสงค์
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหารมากขึ้น
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ทหารเป็นอาชีพหนึ่ง ของประเทศ และสำคัญมากของทุกประเทศ
ความมุ่งหมายของการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาชีพทหาร
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]--> ค้นคว้าเรียนรู้การทำงานของทหาร
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ยศ ต่ำแหน่ง ของทหาร
หลักการและทฤษฎี
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ทหารเป็นอาชีพที่ทุกประเทศต้องมี
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ทหารคือรั้วของชาติ ซึ่งมีแต่สมัยโบราณ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชน
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจาก หนังสือ วารสาร อินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ทหารบก  


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา โครงงานดังหัวข้อต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือเสริมความรู้ เรื่อง ประวัติของทหาร ได้แก่ ความรู้ ประวัติของทหาร ที่มาและความสำคัญ อาชีพ ของทหาร  มีแนวทางปฏิบัติแบบใด
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ประวัติศาสตร์
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->กองทัพไทยมีประวัติศาสตร์การต่อสู้เคียงข้างกับการสร้างประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน  นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยที่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมชาวไทยตั้งราชอาณาจักรโดยยึดหลักในการ สร้างกองทัพเพื่อป้องกันประเทศว่า ชายฉกรรจ์ทุกคน ต้องเป็นทหาร เพื่อจะได้ ป้องกันบ้านเมืองให้ปลอดภัย
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->                    ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาปีพุทธศักราช 1991 ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ได้มีการแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน   ในส่วนราชการทหารทรงแต่งตั้งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับ-บัญชา  มีการจัดกำลังแบ่งเป็น  4 เหล่า ได้แก่  ราบ  (เดินเท้าม้า  รถ  ช้าง  หรือที่เรียกว่าจตุรงคเสนา    ปีพุทธศักราช  2081  ในรัชสมัยพระชัยราชาธิราช  ได้มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยในกองทัพ  โดยใช้ปืนไฟในการรบกับพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน  ต่อมาปีพุทธศักราช  2199    จึงได้ริเริ่มสร้างปืนไฟขึ้นใช้เอง               ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีอาณาเขตจรดทะเลและดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน  จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีทั้งกำลังทางเรือ และกำลังทางบกไว้เพื่อปกป้องราชอาณาจักร โดยในระยะแรกนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา  ยังไม่มีการแบ่งแยกทหารบกและทหารเรือ  คงใช้กองทัพในลักษณะรวมการปกป้องประเทศชาติตามแต่ว่าจะมีภัยรุกรานจากทางด้านใด                   ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่  4ทรงริเริ่มให้มีการปรับปรุงกำลังทหารให้ทันสมัย  ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  5)   ทรงได้ให้มีการปรับปรุงกิจการทหารแบบสมัยใหม่อย่างจริงจัง  โดยทรงโปรดเกล้าฯ  ให้จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น  เมื่อวันที่  8  เมษายน  พุทธศักราช 2430  เพื่อบังคับบัญชา ทหารบกและทหารเรืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น  และได้กำหนดให้วันที่  8  เมษายนของทุกปี เป็น วันกลาโหมและต่อมา ได้ถือว่าเป็น วันกองทัพไทยปัจจุบันวันกองทัพไทยตรงกับวันที่  18  มกราคมของทุกปี  โดยได้ถือเอาวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย  คือ วันที่สมเด็จ- พระนเรศวรมหาราช  ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา  เมื่อวันจันทร์  เดือนสอง  แรมสองค่ำ  จุลศักราช  954  ตรงกับวันจันทร์ที่  18  มกราคม  พุทธศักราช 2135 เป็นจุดเริ่มต้นของวันกองทัพไทย
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->                  กองทัพไทย ได้ผ่านการพัฒนาและมีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด  ทำให้ในปัจจุบันสามารถมั่นใจได้ว่ากองทัพบก     จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญของชาติในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับกองทัพเรือที่ปกป้องราชอาณาจักรทางทะเล และ  กองทัพอากาศ ในการทำหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าไทย  ทุกกองทัพต่างปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในการป้องกันอธิปไตยของชาติ  โดยมีกองทัพไทย ทำหน้าที่ควบคุม  บังคับบัญชา  และประสานงาน  ระหว่างเหล่าทัพทั้งสาม
              แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว  กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ  การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป



บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
ตารางการปฏิบัติงาน

ลำดับ
วัน/ เดือน /ปี
การปฏิบัติงาน
1
24 ต.ค. 56
คิดหัวเรื่อง
2
26 -31 ต.ค. 56
เขียนโครงรางของโครงงาน
3
7 -21 พ.ย. 56
ลงมือทำโครงงาน
4
22 – 5 พ.ย. 56
จัดทำเว็บไซต์ / หนังสือเล่มเล็ก/ โครงงาน
5
24 ธ.ค. 56
นำเสนอโครงงาน



บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
ผลการศึกษาค้นคว้า เรื่อง เราคือประวัติทหาร จากวารสาร หนังสือ และจากอินเตอร์เน็ต ปรากฏการศึกษา ดังต่อไปนี้
  กองทัพไทยมีประวัติศาสตร์การต่อสู้เคียงข้างกับการสร้างประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน  นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยที่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมชาวไทยตั้งราชอาณาจักรโดยยึดหลักในการ สร้างกองทัพเพื่อป้องกันประเทศว่า ชายฉกรรจ์ทุกคน ต้องเป็นทหาร เพื่อจะได้ ป้องกันบ้านเมืองให้ปลอดภัย
                    ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาปีพุทธศักราช 1991 ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ได้มีการแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน   ในส่วนราชการทหารทรงแต่งตั้งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับ-บัญชา  มีการจัดกำลังแบ่งเป็น  4 เหล่า ได้แก่  ราบ  (เดินเท้าม้า  รถ  ช้าง  หรือที่เรียกว่าจตุรงคเสนา    ปีพุทธศักราช  2081  ในรัชสมัยพระชัยราชาธิราช  ได้มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยในกองทัพ  โดยใช้ปืนไฟในการรบกับพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน  ต่อมาปีพุทธศักราช  2199    จึงได้ริเริ่มสร้างปืนไฟขึ้นใช้เอง               ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีอาณาเขตจรดทะเลและดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน  จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีทั้งกำลังทางเรือ และกำลังทางบกไว้เพื่อปกป้องราชอาณาจักร โดยในระยะแรกนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา  ยังไม่มีการแบ่งแยกทหารบกและทหารเรือ  คงใช้กองทัพในลักษณะรวมการปกป้องประเทศชาติตามแต่ว่าจะมีภัยรุกรานจากทางด้านใด                   ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่  4ทรงริเริ่มให้มีการปรับปรุงกำลังทหารให้ทันสมัย  ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่  5)   ทรงได้ให้มีการปรับปรุงกิจการทหารแบบสมัยใหม่อย่างจริงจัง  โดยทรงโปรดเกล้าฯ  ให้จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น  เมื่อวันที่  8  เมษายน  พุทธศักราช 2430  เพื่อบังคับบัญชา ทหารบกและทหารเรืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น  และได้กำหนดให้วันที่  8  เมษายนของทุกปี เป็น วันกลาโหมและต่อมา ได้ถือว่าเป็น วันกองทัพไทยปัจจุบันวันกองทัพไทยตรงกับวันที่  18  มกราคมของทุกปี  โดยได้ถือเอาวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย  คือ วันที่สมเด็จ- พระนเรศวรมหาราช  ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา  เมื่อวันจันทร์  เดือนสอง  แรมสองค่ำ  จุลศักราช  954  ตรงกับวันจันทร์ที่  18  มกราคม  พุทธศักราช 2135 เป็นจุดเริ่มต้นของวันกองทัพไทย
                  กองทัพไทย ได้ผ่านการพัฒนาและมีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด  ทำให้ในปัจจุบันสามารถมั่นใจได้ว่ากองทัพบก     จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญของชาติในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับกองทัพเรือที่ปกป้องราชอาณาจักรทางทะเล และ  กองทัพอากาศ ในการทำหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าไทย  ทุกกองทัพต่างปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในการป้องกันอธิปไตยของชาติ  โดยมีกองทัพไทย ทำหน้าที่ควบคุม  บังคับบัญชา  และประสานงาน  ระหว่างเหล่าทัพทั้งสาม
              แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว  กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ  การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ  ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
   กองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces) ได้เกิดขึ้นและมีประวัติควบคู่กับการสร้างชาติไทยมายาวนาน มีภารกิจหลักในการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นรากฐานและหลักประกันค้ำจุนสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติเอกราชมาโดยตลอด
วิวัฒนาการจนเป็นกองทัพไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปี รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ การยกเลิกระบบไพร่ก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เกิดระบบทหารอาชีพขึ้นในประเทศไทย
ในรัชสมัยนี้ เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก จัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด จัดแบ่งกำลังรบออกเป็น 10 กองพล[ต้องการอ้างอิง] จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้วหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่าง ๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก


ความขัดแย้ง
กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามสยาม-ฝรั่งเศส (1893)
เกิด ขึ้นเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามยุคล่าอาณานิคมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอิน โดจีนและต้องการครอบครองดินแดนลาวซึ่งในตอนนั้นเป็นของสยามจึงเกิดความขัด แย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามกับสยาม และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามได้บุกเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ไทยต้องยกดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามโลกครั้งที่ 1 (1917 - 1918)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านได้ตัดสินใจประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 กับอำนาจกลางและเข้าร่วม Entente อำนาจในการต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตก ได้ส่งทหารของกองทัพสยามเดินทางมีทหารทั้งหมด 1,233 คน และยุทธโนปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการฝึกอบรมได้รับคำสั่งจากจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และทางอากาศ สยามเป็นประเทศอิสระเพียงรายเดียวในเอเชียประเทศที่มีกองกำลังในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และได้สงผลให้มีการแก้ไขหรือการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา,ฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ และกองทัพสยามยังได้รับเกียรติเดินขบวนในขบวนแห่งชัยชนะในปารีส
ทหารไทยที่เดินขบวนแห่งชัยชนะในกรุงปารีส
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามไทย-ฝรั่งเศส (1940 - 1941)
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 1940 เมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ลัทธิฟาสซิสต์กฎของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจที่จะบุกฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองของวิชี (หลังจากนาซีครอบครองกรุงปารีส) เพื่อนำดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสเอาไปกลับคืนมา

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องการผ่านดินแดนไทยเพื่อที่จะโจมตีบริติชอินเดียและแหลมมลายูและต้องการใช้กำลังทหารของไทยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกับไทยและสิ้นสุดเมื่อชั่วโมงแรกในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยไทยยอมให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยได้ ต่อมาหลังจากถูกเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพ รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 25 มกราคม 1942 โดยไทยได้ส่งทหารบุกพม่า
เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี กองทัพไทยให้กรมทหารราบที่ 21 ประมาณ 1,294 คน
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามเวียดนาม (1955 - 1975)
ทหารไทยที่เข้ารบรบในเวียดนาม
เกิดขึ้นเมื่อมีเวียดนามเหนือมีความคิดที่ว่าจะรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ไทยได้ส่งทหารไทยเข้ารบรบกับประเทศที่เป็นพันธมิตร เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และทหารไทยเสียชีวิต 1,351 นาย
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->การปราบปรามคอมมิวนิสต์ (1976 - 1980s)
เกิดเมื่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และ กลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->เหตุปะทะชายแดนไทยเวียดนาม (1979 - 1988)
เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามยึดเขมรได้สำเร็จ(สงครามกัมพูชาเวียดนาม) เวียดนามจึงได้มีแผนที่บุกไทยโดยมีจุดประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ ปราบเขมรแดงที่หนีมาไทยและยึดภาคอีสานของไทย

<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามชายแดนไทย-ลาว (1987 - 1988)
เกิดขึ้นเมื่อลาวได้ยกกำลังเข้ายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น และสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ติมอร์ตะวันออก (1999 - 2002)
เกิดเมื่อมีวิกฤตในติมอร์ตะวันออก ไทยร่วมกับประเทศอื่น ๆ 28 ประเทศ ให้มีกองทัพระหว่างประเทศในติมอร์ตะวันออกหรือ INTERFET เริ่มเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1999 ถึง 20 พฤษภาคม 2002ทหารไทยและทหารอเมริกันในการฝึกคอบร้าโกลด์ในปี 2001
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->สงครามอิรัก (2003 - 2004)
เกิดขึ้นเมื่อกองทัพสหรัฐบุกประเทศอิรัก และประเทศไทยได้ส่งกำลังสนับสนุนกองกำลัง 423 ในเดือนสิงหาคม 2003 ซึ่งหลังจากที่ประจำการณ์แล้ว กองกำลังของกองทัพบกไทยได้ถูกโจมตีในเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองคาบาลาในวันที่ 27 ธันวาคม 2003 ซึ่งแรงระเบิดได้ฆ่า 2 ทหารไทย และบาดเจ็บ 5 คนอื่น ๆ ภารกิจของไทยในอิรักได้รับการพิจารณาที่ประสบความสำเร็จและถอนกองกำลังออกในเดือนสิงหาคม 2004 ภารกิจนี้ถือเป็นเหตุผลหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโตในปี 2003
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ (2004 - ต่อเนื่อง)
เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสู้โดยเชื้อชาติมาเลย์และกลุ่มกบฏอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากยะลา ปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในปี 2004 เมื่อการโจมตีของผู้ก่อการร้ายพลเรือนไทยเชื้อชาติก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้น กองทัพไทยในการเปิดการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธหนัก
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา (2008 - ต่อเนื่อง)
<!--[if !supportLists]-->·         <!--[endif]-->ซูดาน (2010 - 2011)

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
การศึกษาโครงงาน เรื่อง ประวัติของทหารบก สรุปได้ดังนี้

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชข้างต้นนี้ ได้แสดง ให้เห็นถึงความสำคัญของกิจการทหารที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับประเทศไทย การที่ประเทศไทยดำรงความเป็นเอกราชมาได้จนทุกวันนี้ ก็เพราะมีทหารทำหน้าที่ต่อสู้ป้องกันข้าศึก รักษาอาณาเขต และปกป้องความเป็นไท การมีกองทัพบกที่ทันสมัยและเข้มแข็ง นอกจากจะเพื่อป้องกันตนเองแล้ว ยังเท่ากับเป็นเครื่องป้องปรามมิให้ชาติอื่นกล้ามาทำสงครามด้วย ดังปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่ทหารบก ในวันพระราชทานธงชัยเฉลิมพล เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ความว่า
                    "...ทหารย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่จะป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตและเป็นเหตุที่จะทำให้อำนาจบ้านเมืองกว้างขวางมั่นคงยั่งยืน ทหารไม่เป็นแต่สำหรับที่จะต่อสู้ในเวลาเกิดศึกสงครามอย่างเดียว ย่อมเป็นประกันห้ามการศึกสงครามมิให้เกิดมีได้ด้วย..."
                    สำหรับกองทัพบกนั้น เราอาจจะกล่าวได้ว่ามีกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย และเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศชาติตลอดมา แต่ประวัติความเป็นมาของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรกว่ามีที่ตั้งอยู่แห่งใด และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างใดนั้น ยังไม่มีท่านผู้ใดเรียบเรียงไว้ กรมยุทธการทหารบกพิจารณาเห็นว่า การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน ดังนั้น จึงสามารถอนุโลมได้ว่า กองทัพบกได้เริ่มมีขึ้นแล้วในสมัยนั้น ส่วนสถานที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรก และเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดนั้น จะทราบได้จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของ กองบัญชาการกองทัพบกควบคู่กันไป ดังต่อไปนี้
 
กองบัญชาการกองทัพบก สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                    พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๙ กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามาอยู่เหนือประเทศ ทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ.๒๓๙๕ กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
๑. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
๒. กองทหารหน้า
๓. กองปืนใหญ่อาสาญวน
                    กอง ทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่น ๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ และ พ.ศ.๒๓๙๖ การศึกทั้ง ๒ ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า " กองทหารหน้า " นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้
                    กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ.๒๓๙๘ พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ
๑. กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
๒. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
๓. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
๔. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
                    จะ เห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก ยังไม่มีกองบัญชาการกองทัพบกเป็นหน่วยควบคุมดูแลกิจการของกองทัพเป็นส่วนรวม สำหรับโรงทหารและสนามฝึกหัดทหารก็สุดแล้วแต่ว่าขึ้นอยู่กับผู้ใด ใครเป็นผู้บัญชาการของทหารหน่วยใด โรงทหารก็จะตั้งอยู่บริเวณบ้านท่านผู้นั้น
ขบวนทหารกำลังออกจากศาลายุทธนาธิการ (ตึกกระทรวงกลาโหม) สู่ถนนสนามไชยประมาณ พ.ศ.๒๔๔๑
                    เช่น พระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้บังคับบัญชาทหารอย่างยุโรป โรงทหารตั้งอยู่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงศ์ ณ ฝั่งแม่น้ำฟากตะวันตก มีสนามฝึกหัดอยู่ข้างวัดบุปผาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงศ์เป็นเจ้าพระยาที่สมุหพระกลาโหม กองทหารอย่างยุโรปจึงได้ข้ามฟากมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก และได้ปลูกโรงทหารและทำสนามฝึกหัดใหญ่โตมาก นอกจากนั้นยังมีโรงทหารสนามไชยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนโรงทหารรักษาพระองค์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอกริมกำแพงระหว่างประตูพิมานเทเวศร์ กับประตูวิเศษไชยศรี
                    เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะทรงมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น ๒ ประการ คือ
๑. การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
๒. การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถ
รักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
                    เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๑๕ ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย
สำหรับทางด้านทหารบก โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น ๗ หน่วย ดังนี้
กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กรมทหารรักษาพระองค์
กรมทหารล้อมวัง
กรมทหารหน้า
กรมทหารปืนใหญ่
กรมทหารช้าง
กรมทหารฝีพาย
                    ทหารบกทั้ง ๗ หน่วยนี้ มีเจ้านายและข้าราชการซึ่งเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ "นับว่าเป็นหน่วยต้นกำเนิดของความเจริญในกิจการทหารแบบใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งได้รับการฝึกที่ดีที่สุดในสมัยนั้น" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น ข้างประตูพิมานไชยศรี เป็นที่อยู่ของนายสิบและพลทหาร ส่วนนายทหาร โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น ขึ้นที่ริมกำแพงด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังโปรดให้สร้างสโมสรทหารมหาดเล็ก หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า หอคองคอเดีย อีกด้วย
นอกจากกรมมหาดเล็กฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงทำนุบำรุง กรมทหารหน้า และกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นกรมทหารที่มีระเบียบและยุทธวิธีอย่างใหม่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เช่น โปรดให้ตั้ง "โรงเรียนคะเด็ตทหารหน้า"ขึ้นที่วังสราญรมย์ ในปีเดียวกันกับ "โรงเรียนทหารมหาดเล็ก" โรงเรียนทั้งสองนี้เป็นสถานที่วางรากฐานให้แก่วิชาชีพทหาร และเป็นแหล่งเตรียมบุคลากรเพื่อการปฏิรูปการทหารในระยะต่อมา สำหรับที่ตั้งของโรงทหารหน้า จากตำนาน กรมทหารบกราบที่ ๔ ได้กล่าวไว้ว่า "ระเบียบการปกครองในกรมทหารหน้าดีขึ้น และตั้งอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองทั้งกำลังและวิชา เพราะเหตุว่าได้รับพระบรมราชูปถัมภ์และความสามารถของผู้บังคับการ ได้เริ่มสร้างโรงทหารหน้าขึ้นเป็นตึกใหญ่ ซึ่งภายหลังปรากฏนามว่า ศาลายุทธนาธิการ ที่เป็นศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบันนี้"
    
ดังนั้น สถานที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพบกในรัชกาลนี้คือ ศาลาว่าการกลาโหม นั่นเอง
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ ลง ต่อมาในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร ๓ ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ ความยุ่งยากทางการเมือง และในที่สุดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ใน พ.ศ.๒๔๗๕
กองบัญชาการกองทัพบก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                    ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง พลโท ประยูร ภมรมนตรี ได้เล่าไว้ในหนังสือ "ชีวิติ ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า" ว่า "นายพันเอก พระยาสุรเดช ได้ย้ายกองบัญชาการบางส่วนไปไว้ที่ วังบางขุนพรหม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ แต่เข้าไปทำงานอยู่ไม่นาน ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ"วังบางขุนพรหมจึงว่างลง แต่วังนี้ได้ถูกใช้เป็นที่ประชุมทางทหารที่สำคัญมากอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลางเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ในคราวนั้นรียกว่า "กองบังคับการทหารบกในวังบางขุนพรหม" โดยที่ประชุมได้มีมติสนับสนุนให้ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
                    จะเห็นได้ว่า วังบางขุนพรหม ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพบกเท่านั้น เพราะตัวกองบัญชาการกองทัพบกที่แท้จริงยังคงอยู่ภายในศาลาว่ากลาโหม
 เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ "ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู" เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ.๒๔๘๖ กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว


   เมื่อสงครามยุติ ได้มีการปรับปรุงกองทัพบกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ.๒๔๙๑ ได้เปลี่ยนแปลงระเบียบการจัดส่วนราชการตามแบบกองทัพบกสหรัฐฯ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนกำลังรบ กองบัญชาการกองทัพบกที่อยู่ส่วนกลาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้เพิ่มส่วนการศึกษาขึ้นอีก รวมเป็น ๔ ส่วน ทั้งยังได้ตั้งสำนักงานเลขานุการกองทัพบกขึ้น ส่วนกลาง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ส่วนบัญชาการ" เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมา กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกหลังจากที่ได้สลายตัวไป เนื่องจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด ขึ้นใน พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบกจึงเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงแก้ไขการจัดส่วนราชการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนส่งกำลังบำรุง ส่วนภูมิภาค และส่วนการศึกษา  และยังคงใช้การจัดส่วนราชการเช่นนี้มาจนปัจจุบัน ส่วนบัญชาการ หรือกองบัญชาการกองทัพบกคงตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุม บังคับบัญชา และอำนวยการให้ดำเนินงานของกองทัพบก ทั้งในยามปกติและยามสงครามเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้อง รวดเร็ว และสำเร็จลุล่วงไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
                    กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกสาวนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ ๒ ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๐๓ ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ ๒ อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ.๒๕๐๖ จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่๒เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและ ใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้ง ณ สวนรื่นฤดี ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก็ตาม
                    ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก  ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่าง ๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ
กองบัญชาการกองทัพบกสมัยปัจจุบัน
                    เมื่อ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ บางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ
                    ครั้น เมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก นายทหารเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้สร้างเกียรติประวัติ คุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งนำความภาคภูมิใจมาสู่กองทัพบกอยู่เนือง ๆ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๙ สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก


                    ต่อ มาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล และเป็นศรีสง่ากับประเทศชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการ ศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่าง ๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ระหว่างเวลา ๐๘๔๙ - ๐๙๒๙ โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี
                    ลักษณะอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นอาคารขนาดใหญ่ ประกอบด้วยอาคารย่อย ซึ่งแยกออกเป็น ๕ ส่วน โดยเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน (ดูผังลักษณะอาคาร)
                    สำหรับหน่วยที่ใช้สถานที่ภายในอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ปัจจุบันประกอบด้วย
อาคารส่วนที่ ๑
  • สำนักงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
  • กรมยุทธการทหารบก
  • กรมข่าวทหารบก
  • กรมกำลังพลทหารบก
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
  • กรมกิจการพลเรือนทหารบก
  • ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
อาคารส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓
  • ประชาสัมพันธ์ หน่วยตรวจโรค ร้านสวัสดิการ ห้องจัดเลี้ยง ห้องเตรียมอาหาร ห้องอาหารนายทหารชั้นสัญญาบัตรและนายทหารชั้นประทวน ห้องประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก หน่วยสื่อสาร ห้องสมุด
  • สำนักงานที่ปรึกษา ทบ.
  • ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
  • กรมสารบรรณทหารบก
อาคารส่วนที่ ๔
  • สำนักงานเลขานุการกองทัพบก
  • กรมการเงินทหารบก
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อย บก.ทบ.
 อาคารส่วนที่ ๕
  • อาคารจอดรถสูง ๙ ชั้น ตอน บก.ทบ.


            ประโยชน์ที่ได้รับ
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหาร
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->ได้กระจายข้อมูลให้คนอื่นได้รู้
<!--[if !supportLists]-->-                   <!--[endif]-->เผยแพร่ในโลกออนไลน์
เอกสารอ้างอิง