โครงงาน
เรื่อง ทหารบก
ผู้จัดทำ
นาย ชยพล คำดี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เลขที่ 7
เสนอ
นาย ธนดล คำเสมอ
โรงเรียนบัวเชดวิทยา
อำเภอ บัวเชด จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์เขต 33
ก
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง ประวัติทหารบก เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของทหาร
ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหาร ซึ่งป็นรั้วของประเทศชาติ ได้ศึกษาความเป็นมาของทหารบก
ความสำคัญของทหารบก มีความสำคัญมากในการเป็นทหาร ที่จะรับใช้ปะเทศชาติ
คณะผู้จัดทำได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติของทหารมาเรียบร้อยแล้ว
ก็มีแนวความคิดจัดทำขึ้นเป็นโครงงาน แล้วก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ กับชีวิตประจำวัน รวมทั้งการทำงานของทหาร และความเสียสละ ต่อไป
ผลการศึกษาโครงงาน โครงงานพบว่า ทหาร ก็เป็นอาชีพหนึ่งในที่สำคัญมากของประเทศ
ถือว่าเรารู้จักประวัติของทหาร ไปอีกมุมหนึ่งแล้ว เป็นความรู้ในการนำไปใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
โดยสรุป นอกจากนี้ ยังจะนำความรู้นี้ ไปเผยแพร่ ให้กับโรงเรียน ชุมชน ในท้องถิ่น อีกด้วย
ข
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง เราคือ ประวัติของทหาร ผู้จัดทำได้รับการสนับสนุนจาก อาจารย์ธนดล คำเสมอ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานระหว่างดำเนินโครงงานได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ธนดล คำเสมอ ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทาง และการตรวจสอบ การแก้ไขข้อบกพร่อง ของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี คณะผู้ศึกษาจึงขอ กราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้ เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา อยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->กองทหารหน้า
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->กองปืนใหญ่อาสาญวน
กองทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่นๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ. 2395 และ พ.ศ. 2396 การศึกทั้ง 2 ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า "กองทหารหน้า" นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้
กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
จะเห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น 2 ประการ คือ
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->กรมทหารรักษาพระองค์
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->กรมทหารล้อมวัง
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->กรมทหารหน้า
<!--[if !supportLists]-->5. <!--[endif]-->กรมทหารปืนใหญ่
<!--[if !supportLists]-->6. <!--[endif]-->กรมทหารช้าง
<!--[if !supportLists]-->7. <!--[endif]-->กรมทหารฝีพาย
พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการทหารอย่างใหม่เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี "ประกาศจัดการทหาร" ขึ้น โดยตั้ง "กรมยุทธนาธิการ" มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง "จอมทัพ" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็น "ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป" และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือ
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดย
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ยกกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->จัดตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทหารเรือ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่างๆ ลง ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร 3 ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ความยุ่งยากทางการเมือง
หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง ในเดือนกันยายน ปี 2476 พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ
เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ. 2486 กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว
กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกส่วนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ 2 อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ. 2506 จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่ 2 เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้ง ณ สวนรื่นฤดี ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก็ตาม
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่างๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ บางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ
ครั้นเมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2529 สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก
ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่างๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ระหว่างเวลา 08.49 - 09.29 นาฬิกา โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี
สำหรับหน่วยที่ใช้สถานที่ภายในอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ปัจจุบันประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 1
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->สำนักงานผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมยุทธการทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมข่าวทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมกำลังพลทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมกิจการพลเรือนทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ประชาสัมพันธ์ หน่วยตรวจโรค ร้านสวัสดิการ ห้องจัดเลี้ยง ห้องเตรียมอาหาร ห้องอาหารนายทหารชั้นสัญญาบัตรและนายทหารชั้นประทวน ห้องประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก หน่วยสื่อสาร ห้องสมุด
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->สำนักงานที่ปรึกษา ทบ.
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมสารบรรณทหารบก
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 4
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->สำนักงานเลขานุการกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมการเงินทหารบก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อย บก.ทบ.
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->อาคารส่วนที่ 5
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->อาคารจอดรถสูง 9 ชั้น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 มาตรา 14 กำหนดอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหมและหน้าที่ของกองทัพบกไว้ว่า "กองทัพบกมีหน้าที่เตรียมกำลังทางบก และป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ"
การแบ่งเหล่า
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->กองทัพบกไทย มีการแบ่งเหล่าทหารบก ออกเป็นเหล่าต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เหล่ารบ เป็นเหล่าหลักที่ใช้ในการรบ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลักในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ทหารราบ (ร.) เป็นกำลังรบหลักของกองทัพบกไทย มีกำลังพลมากที่สุด มีหน้าที่เข้ารักษาพื้นที่
แบ่งออกเป็น 3 แบบ 1. ทหารราบยานนนต์ 2.ทหารราบยานเกราะ 3.ทหารราบเบา
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ทหารม้า (ม.) แบ่งออกเป็นสามแบบคือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ทหารม้าลาดตระเวน
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ยานสายพาน หรือยานหุ้มเกราะเป็นพาหนะในการรบ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ทหารม้ารถถัง ใช้รถถังเป็นอาวุธหลัก ในการปฏิบัติการรบ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เหล่าสนับสนุนการรบ เป็นฝ่ายสนุบสนุนการรบ โดยมากมักปฏิบัติงานควบคู่กับหน่วยรบในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ทหารปืนใหญ่ (ป.) ใช้ปืนใหญ่ ในการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยกำลังรบ
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ทหารช่าง (ช.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานช่าง ก่อสร้าง ซ่อม หรือทำลาย สิ่งก่อสร้างต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ทหารสื่อสาร (ส.) เป็นฝ่ายช่วยเหลือทางเทคนิคด้านงานสื่อสาร และด้านเทคโนโลยีต่างๆ
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ทหารการข่าว (ขว.)
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เหล่าช่วยรบ เป็นฝ่ายส่งกำลังหรือสิ่งอุปกรณ์ช่วยเหลือการรบ โดยมากปฏิบัติงานแนวหลังในสนามรบ ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ทหารสรรพาวุธ (สพ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาวุธ กระสุน วัตถุระเบิด ตลอดจนยานพาหนะในการรบ
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ทหารพลาธิการ (พธ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จำพวก อาหาร เครื่องแต่งกาย เชื้อเพลิง ยุทธภัณฑ์ส่วนบุคคล
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ทหารแพทย์ (พ.) เป็นฝ่ายสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ในกลุ่มเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงเป็นฝ่ายรักษาพยาบาลให้กับทหารและครอบครัวทหาร
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ทหารขนส่ง (ขส.) เป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกเรื่องการขนส่งกำลังพล และสิ่งอุปกรณ์
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->นอกจากนี้ยังมีหน่วยอื่นๆ ที่มิได้เป็นหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการรบโดยตรง ประกอบด้วย
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ทหารสารบรรณ (สบ.) มีหน้าที่ดำเนินการด้านธุรการ เอกสาร ทะเบียนประวัติ และงานสัสดี
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ทหารการเงิน (กง.) ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ทหารพระธรรมนูญ (ธน.) ดำเนินการด้านกฎหมาย การศาลทหาร และงานทนายทหาร
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ทหารแผนที่ (ผท.) มีหน้าที่สำรวจและจัดทำ แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
<!--[if !supportLists]-->5. <!--[endif]-->ทหารการสัตว์ (กส.) มีหน้าที่ดูแลสัตว์ในราชการกองทัพ
<!--[if !supportLists]-->6. <!--[endif]-->ทหารดุริยางค์ (ดย.) มีหน้าที่ให้ความบันเทิง
<!--[if !supportLists]-->7. <!--[endif]-->สารวัตรทหาร (สห.) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและระเบียบวินัยของทหาร
การจัดส่วนราชการ
กองทัพบก แบ่งส่วนราชการเป็น 7 ส่วนดังนี้ [1]
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ส่วนบัญชาการ
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->ส่วนกำลังรบ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->ส่วนสนับสนุนการรบ
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->ส่วนส่งกำลังบำรุง
<!--[if !supportLists]-->5. <!--[endif]-->ส่วนภูมิภาค
<!--[if !supportLists]-->6. <!--[endif]-->ส่วนการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->7. <!--[endif]-->ส่วนช่วยพัฒนาประเทศ
ส่วนบัญชาการ[แก้]
ส่วนบัญชาการ (ฝ่ายเสนาธิการ)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สำนักงานเลขานุการกองทัพบก (สลก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมกำลังพลทหารบก (กพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมข่าวทหารบก (ขว.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก (กบ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมกิจการพลเรือนทหารบก (กร.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก (สปช.ทบ.)
ส่วนบัญชาการ(ฝ่ายกิจการพิเศษ)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมสารบรรณทหารบก (สบ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการเงินทหารบก (กง.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการสารวัตรทหารบก (สห.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมจเรทหารบก (จบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก (สตน.ทบ.)
|
ส่วนบัญชาการ (ฝ่ายยุทธบริการ)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการทหารช่าง (กช.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมสรรพาวุธทหารบก (สพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมแพทย์ทหารบก (พบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการทหารสื่อสาร (สส.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.)
|
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1) รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ตั้งกองบัญชาการที่กรุงเทพมหานคร หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล พื้นที่ภาคกลางตั้งแต่จังหวัดลพบุรี ยาวไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) เป็นกองพลทหารราบยานเกราะ รับผิดชอบชายแดนด้านตะวันออก ชายแดนไทย-กัมพูชา และพื้นที่ภาคตะวันออกทั้งหมด ตั้งอยู่ที่ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) รับผิดชอบชายแดนด้านตะวันตก ยาวไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ที่ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 11 (พล.ร.11) เป็นกองพลสำรอง ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) ตั้งอยู่ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) รับผิดชอบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 3 (พล.ร.3) ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งอยู่ที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 6 (พล.ร.6) ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) เป็นกองพลใหม่ ตั้งอยู่ในค่ายติณสูลานนท์ จังหวัดขอนแก่น
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3) รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เป็นกองพลใหม่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ค่ายกรมรบพิเศษที่ 5
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1) ตั้งอยู่ที่ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4) รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ตั้งกองบัญชาการที่ค่ายวชิราวุธจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีศูนย์บัญชาการส่วนหน้าอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพื่อดูแลปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 5 (พล.ร.5) ดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ตั้งอยู่ที่ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) เดิมเป็นกองพลหนุน แต่จัดตั้งเป็นกองพลมาตรฐานหลังเกิดปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เดิมใช้ชื่อว่ากองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (นสศ.) ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี รับผิดชอบภารกิจเกี่ยวกับสงครามพิเศษ หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลรบพิเศษที่ 1 (พล.รพ.ศ. 1) มีที่ตั้งอยู่ในค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กรมรบพิเศษที่ 2 (รพ.ศ. 2) ตั้งอยู่ในค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ (นปอ.) ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศ การต่อต้านอากาศยาน หน่วยรบที่สำคัญ คือ
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (พล.ปตอ.) ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) ตั้งอยู่ที่ถนนเตชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่สำคัญในด้านการเฝ้าตรวจทางอากาศ ค้นหาอากาศยาน พิสูจน์ฝ่าย แจ้งเตือน และควบคุมการปฏิบัติ
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองพลทหารปืนใหญ่ (พล.ป.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองพลทหารช่าง (พล.ช)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองพันทหารช่างที่ 51 (ช.พัน.51)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมทหารสื่อสารที่ 1 (ส.1)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองพันบิน (พัน.บ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->(ขกท.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->(พัน.ปฐบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->(ร้อย.วศ.)
ส่วนส่งกำลังบำรุง[แก้]
มีจำนวน 9 กรม ดังนี้ [1]
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการทหารช่าง (กช.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการทหารสื่อสาร (สส.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมสรรพวุธทหารบก (สพ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมพลาธิการทหารบก (พธ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมแพทย์ทหารบก (พบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมยุทธโยธาทหารบก (ยย.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก (วศ.ทบ.)
ส่วนภูมิภาค[แก้]
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 12 (มทบ.12)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 13 (มทบ.13)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 14 (มทบ.14)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 21 (มทบ.21)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 22 (มทบ.22)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 23 (มทบ.23)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 24 (มทบ.24)
|
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 31 (มทบ.31)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 32 (มทบ.32)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 33 (มทบ.33)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 41 (มทบ.41)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->มณฑลทหารบกที่ 42 (มทบ.42)
|
ส่วนการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กรมยุทธศึกษาทหารบก (ยศ.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->โรงเรียนทหารปืนใหญ่
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->โรงเรียนนายสิบทหารบก (รร.นส.ทบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->ศูนย์การบินทหารบก (ศบบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->ศูนย์สงครามพิเศษ (ศสพ.)
ส่วนช่วยการพัฒนาประเทศ
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 1 (ทภ.1)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 1 (พล.พัฒนา 1)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 2 (พล.พัฒนา 2)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 3 (พล.พัฒนา 3)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->กองทัพภาคที่ 4 (ทภ.4)
<!--[if !supportLists]-->o <!--[endif]-->กองพลพัฒนาที่ 4 (พล.พัฒนา 4)
สื่อในความควบคุมของกองทัพบก
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (ให้เอกชนเช่าสัมปทาน)
<!--[if !supportLists]-->· <!--[endif]-->สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เครือข่ายทั่วประเทศ 126 สถานี
วัตถุประสงค์
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เพื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหารมากขึ้น
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ทหารเป็นอาชีพหนึ่ง ของประเทศ และสำคัญมากของทุกประเทศ
ความมุ่งหมายของการศึกษา
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอาชีพทหาร
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]--> ค้นคว้าเรียนรู้การทำงานของทหาร
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ยศ ต่ำแหน่ง ของทหาร
หลักการและทฤษฎี
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ทหารเป็นอาชีพที่ทุกประเทศต้องมี
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ทหารคือรั้วของชาติ ซึ่งมีแต่สมัยโบราณ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ทหารเป็นที่พึ่งของประชาชน
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจาก หนังสือ วารสาร อินเตอร์เน็ต ในเว็บไซต์ทหารบก
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา โครงงานดังหัวข้อต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือเสริมความรู้ เรื่อง ประวัติของทหาร ได้แก่ ความรู้ ประวัติของทหาร ที่มาและความสำคัญ อาชีพ ของทหาร มีแนวทางปฏิบัติแบบใด
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ประวัติศาสตร์
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->กองทัพไทยมีประวัติศาสตร์การต่อสู้เคียงข้างกับการสร้างประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยที่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมชาวไทยตั้งราชอาณาจักรโดยยึดหลักในการ สร้างกองทัพเพื่อป้องกันประเทศว่า “ชายฉกรรจ์ทุกคน ต้องเป็นทหาร เพื่อจะได้ ป้องกันบ้านเมืองให้ปลอดภัย”
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]--> ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาปีพุทธศักราช 1991 ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน ในส่วนราชการทหารทรงแต่งตั้งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับ-บัญชา มีการจัดกำลังแบ่งเป็น 4 เหล่า ได้แก่ ราบ (เดินเท้า) ม้า รถ ช้าง หรือที่เรียกว่า“จตุรงคเสนา” ปีพุทธศักราช 2081 ในรัชสมัยพระชัยราชาธิราช ได้มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยในกองทัพ โดยใช้ปืนไฟในการรบกับพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน ต่อมาปีพุทธศักราช 2199 จึงได้ริเริ่มสร้างปืนไฟขึ้นใช้เอง ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีอาณาเขตจรดทะเลและดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีทั้งกำลังทางเรือ และกำลังทางบกไว้เพื่อปกป้องราชอาณาจักร โดยในระยะแรกนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ยังไม่มีการแบ่งแยกทหารบกและทหารเรือ คงใช้กองทัพในลักษณะรวมการปกป้องประเทศชาติตามแต่ว่าจะมีภัยรุกรานจากทางด้านใด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงริเริ่มให้มีการปรับปรุงกำลังทหารให้ทันสมัย ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้ให้มีการปรับปรุงกิจการทหารแบบสมัยใหม่อย่างจริงจัง โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2430 เพื่อบังคับบัญชา ทหารบกและทหารเรืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปี เป็น “วันกลาโหม”และต่อมา ได้ถือว่าเป็น “วันกองทัพไทย”ปัจจุบันวันกองทัพไทยตรงกับวันที่ 18 มกราคมของทุกปี โดยได้ถือเอาวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย คือ วันที่สมเด็จ- พระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันจันทร์ เดือนสอง แรมสองค่ำ จุลศักราช 954 ตรงกับวันจันทร์ที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 เป็นจุดเริ่มต้นของวันกองทัพไทย
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]--> กองทัพไทย ได้ผ่านการพัฒนาและมีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้ในปัจจุบันสามารถมั่นใจได้ว่ากองทัพบก จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญของชาติในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับกองทัพเรือที่ปกป้องราชอาณาจักรทางทะเล และ กองทัพอากาศ ในการทำหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าไทย ทุกกองทัพต่างปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในการป้องกันอธิปไตยของชาติ โดยมีกองทัพไทย ทำหน้าที่ควบคุม บังคับบัญชา และประสานงาน ระหว่างเหล่าทัพทั้งสาม
แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน
ตารางการปฏิบัติงาน
ลำดับ
|
วัน/ เดือน /ปี
|
การปฏิบัติงาน
|
1
|
24 ต.ค. 56
|
คิดหัวเรื่อง
|
2
|
26 -31 ต.ค. 56
|
เขียนโครงรางของโครงงาน
|
3
|
7 -21 พ.ย. 56
|
ลงมือทำโครงงาน
|
4
|
22 – 5 พ.ย. 56
|
จัดทำเว็บไซต์ / หนังสือเล่มเล็ก/ โครงงาน
|
5
|
24 ธ.ค. 56
|
นำเสนอโครงงาน
|
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
ผลการศึกษาค้นคว้า เรื่อง เราคือประวัติทหาร จากวารสาร หนังสือ และจากอินเตอร์เน็ต ปรากฏการศึกษา ดังต่อไปนี้
กองทัพไทยมีประวัติศาสตร์การต่อสู้เคียงข้างกับการสร้างประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยที่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้รวบรวมชาวไทยตั้งราชอาณาจักรโดยยึดหลักในการ สร้างกองทัพเพื่อป้องกันประเทศว่า “ชายฉกรรจ์ทุกคน ต้องเป็นทหาร เพื่อจะได้ ป้องกันบ้านเมืองให้ปลอดภัย”
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาปีพุทธศักราช 1991 ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการแบ่งกิจการทหารกับพลเรือนออกจากกัน ในส่วนราชการทหารทรงแต่งตั้งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับ-บัญชา มีการจัดกำลังแบ่งเป็น 4 เหล่า ได้แก่ ราบ (เดินเท้า) ม้า รถ ช้าง หรือที่เรียกว่า“จตุรงคเสนา” ปีพุทธศักราช 2081 ในรัชสมัยพระชัยราชาธิราช ได้มีการใช้อาวุธที่ทันสมัยในกองทัพ โดยใช้ปืนไฟในการรบกับพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองเชียงกราน ต่อมาปีพุทธศักราช 2199 จึงได้ริเริ่มสร้างปืนไฟขึ้นใช้เอง ประเทศไทยของเรานั้นเป็นประเทศที่มีอาณาเขตจรดทะเลและดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีทั้งกำลังทางเรือ และกำลังทางบกไว้เพื่อปกป้องราชอาณาจักร โดยในระยะแรกนับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ยังไม่มีการแบ่งแยกทหารบกและทหารเรือ คงใช้กองทัพในลักษณะรวมการปกป้องประเทศชาติตามแต่ว่าจะมีภัยรุกรานจากทางด้านใด ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงริเริ่มให้มีการปรับปรุงกำลังทหารให้ทันสมัย ขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงได้ให้มีการปรับปรุงกิจการทหารแบบสมัยใหม่อย่างจริงจัง โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2430 เพื่อบังคับบัญชา ทหารบกและทหารเรืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปี เป็น “วันกลาโหม”และต่อมา ได้ถือว่าเป็น “วันกองทัพไทย”ปัจจุบันวันกองทัพไทยตรงกับวันที่ 18 มกราคมของทุกปี โดยได้ถือเอาวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย คือ วันที่สมเด็จ- พระนเรศวรมหาราช ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันจันทร์ เดือนสอง แรมสองค่ำ จุลศักราช 954 ตรงกับวันจันทร์ที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 เป็นจุดเริ่มต้นของวันกองทัพไทย
กองทัพไทย ได้ผ่านการพัฒนาและมีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้ในปัจจุบันสามารถมั่นใจได้ว่ากองทัพบก จะเป็นกำลังหลักที่สำคัญของชาติในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับกองทัพเรือที่ปกป้องราชอาณาจักรทางทะเล และ กองทัพอากาศ ในการทำหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าไทย ทุกกองทัพต่างปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในการป้องกันอธิปไตยของชาติ โดยมีกองทัพไทย ทำหน้าที่ควบคุม บังคับบัญชา และประสานงาน ระหว่างเหล่าทัพทั้งสาม
แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
แม้ว่าประเทศไทยของเราจะคงความเป็นปึกแผ่นและมั่นคงมาเป็นเวลานับร้อยปีแล้ว กองทัพไทยของเราก็ยังคงปฏิบัติภารกิจสำคัญและทรงเกียรติ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นภารกิจป้องกันการรุกรานภายนอกประเทศ หรือภารกิจเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ การต่อต้านก่อการร้ายต่าง ๆ รวมทั้ง การพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญ และความสงบสุขในทุกๆ ด้านให้แก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
กองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces) ได้เกิดขึ้นและมีประวัติควบคู่กับการสร้างชาติไทยมายาวนาน มีภารกิจหลักในการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เป็นรากฐานและหลักประกันค้ำจุนสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องแผ่นดินไทยให้ดำรงความเป็นชาติเอกราชมาโดยตลอด
วิวัฒนาการจนเป็นกองทัพไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปี รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ การยกเลิกระบบไพร่ก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เกิดระบบทหารอาชีพขึ้นในประเทศไทย
ในรัชสมัยนี้ เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก จัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด จัดแบ่งกำลังรบออกเป็น 10 กองพล[ต้องการอ้างอิง] จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้วหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่าง ๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก
ความขัดแย้ง
กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค
เกิด ขึ้นเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามยุคล่าอาณานิคมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอิน โดจีนและต้องการครอบครองดินแดนลาวซึ่งในตอนนั้นเป็นของสยามจึงเกิดความขัด แย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามกับสยาม และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามได้บุกเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ไทยต้องยกดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านได้ตัดสินใจประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 กับอำนาจกลางและเข้าร่วม Entente อำนาจในการต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตก ได้ส่งทหารของกองทัพสยามเดินทางมีทหารทั้งหมด 1,233 คน และยุทธโนปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการฝึกอบรมได้รับคำสั่งจากจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และทางอากาศ สยามเป็นประเทศอิสระเพียงรายเดียวในเอเชียประเทศที่มีกองกำลังในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และได้สงผลให้มีการแก้ไขหรือการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา,ฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ และกองทัพสยามยังได้รับเกียรติเดินขบวนในขบวนแห่งชัยชนะในปารีส
ทหารไทยที่เดินขบวนแห่งชัยชนะในกรุงปารีส
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม 1940 เมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ลัทธิฟาสซิสต์กฎของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจที่จะบุกฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองของวิชี (หลังจากนาซีครอบครองกรุงปารีส) เพื่อนำดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสเอาไปกลับคืนมา
สงครามโลกครั้งที่ 2 (1942 - 1945)
เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องการผ่านดินแดนไทยเพื่อที่จะโจมตีบริติชอินเดียและแหลมมลายูและต้องการใช้กำลังทหารของไทยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกับไทยและสิ้นสุดเมื่อชั่วโมงแรกในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยไทยยอมให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยได้ ต่อมาหลังจากถูกเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพ รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 25 มกราคม 1942 โดยไทยได้ส่งทหารบุกพม่า
สงครามเกาหลี (1950 - 1953)
เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี กองทัพไทยให้กรมทหารราบที่ 21 ประมาณ 1,294 คน
ทหารไทยที่เข้ารบรบในเวียดนาม
เกิดขึ้นเมื่อมีเวียดนามเหนือมีความคิดที่ว่าจะรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ไทยได้ส่งทหารไทยเข้ารบรบกับประเทศที่เป็นพันธมิตร เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และทหารไทยเสียชีวิต 1,351 นาย
เกิดเมื่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และ กลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก
เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามยึดเขมรได้สำเร็จ(สงครามกัมพูชา–เวียดนาม) เวียดนามจึงได้มีแผนที่บุกไทยโดยมีจุดประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ ปราบเขมรแดงที่หนีมาไทยและยึดภาคอีสานของไทย
เกิดขึ้นเมื่อลาวได้ยกกำลังเข้ายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น และสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร
เกิดเมื่อมีวิกฤตในติมอร์ตะวันออก ไทยร่วมกับประเทศอื่น ๆ 28 ประเทศ ให้มีกองทัพระหว่างประเทศในติมอร์ตะวันออกหรือ INTERFET เริ่มเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1999 ถึง 20 พฤษภาคม 2002ทหารไทยและทหารอเมริกันในการฝึกคอบร้าโกลด์ในปี 2001
เกิดขึ้นเมื่อกองทัพสหรัฐบุกประเทศอิรัก และประเทศไทยได้ส่งกำลังสนับสนุนกองกำลัง 423 ในเดือนสิงหาคม 2003 ซึ่งหลังจากที่ประจำการณ์แล้ว กองกำลังของกองทัพบกไทยได้ถูกโจมตีในเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองคาบาลาในวันที่ 27 ธันวาคม 2003 ซึ่งแรงระเบิดได้ฆ่า 2 ทหารไทย และบาดเจ็บ 5 คนอื่น ๆ ภารกิจของไทยในอิรักได้รับการพิจารณาที่ประสบความสำเร็จและถอนกองกำลังออกในเดือนสิงหาคม 2004 ภารกิจนี้ถือเป็นเหตุผลหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโตในปี 2003
เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสู้โดยเชื้อชาติมาเลย์และกลุ่มกบฏอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากยะลา ปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในปี 2004 เมื่อการโจมตีของผู้ก่อการร้ายพลเรือนไทยเชื้อชาติก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้น กองทัพไทยในการเปิดการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธหนัก
- อัฟกานิสถาน (2012)
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
การศึกษาโครงงาน เรื่อง ประวัติของทหารบก สรุปได้ดังนี้
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชข้างต้นนี้ ได้แสดง ให้เห็นถึงความสำคัญของกิจการทหารที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับประเทศไทย การที่ประเทศไทยดำรงความเป็นเอกราชมาได้จนทุกวันนี้ ก็เพราะมีทหารทำหน้าที่ต่อสู้ป้องกันข้าศึก รักษาอาณาเขต และปกป้องความเป็นไท การมีกองทัพบกที่ทันสมัยและเข้มแข็ง นอกจากจะเพื่อป้องกันตนเองแล้ว ยังเท่ากับเป็นเครื่องป้องปรามมิให้ชาติอื่นกล้ามาทำสงครามด้วย ดังปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานแก่ทหารบก ในวันพระราชทานธงชัยเฉลิมพล เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ความว่า
"...ทหารย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่จะป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตและเป็นเหตุที่จะทำให้อำนาจบ้านเมืองกว้างขวางมั่นคงยั่งยืน ทหารไม่เป็นแต่สำหรับที่จะต่อสู้ในเวลาเกิดศึกสงครามอย่างเดียว ย่อมเป็นประกันห้ามการศึกสงครามมิให้เกิดมีได้ด้วย..."
สำหรับกองทัพบกนั้น เราอาจจะกล่าวได้ว่ามีกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย และเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศชาติตลอดมา แต่ประวัติความเป็นมาของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรกว่ามีที่ตั้งอยู่แห่งใด และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างใดนั้น ยังไม่มีท่านผู้ใดเรียบเรียงไว้ กรมยุทธการทหารบกพิจารณาเห็นว่า การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน ดังนั้น จึงสามารถอนุโลมได้ว่า กองทัพบกได้เริ่มมีขึ้นแล้วในสมัยนั้น ส่วนสถานที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพบกตั้งแต่เริ่มแรก และเปลี่ยนแปลงไปอย่างใดนั้น จะทราบได้จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของ กองบัญชาการกองทัพบกควบคู่กันไป ดังต่อไปนี้
กองบัญชาการกองทัพบก สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๙ กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามาอยู่เหนือประเทศ ทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ.๒๓๙๕ กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก มีดังนี้
๑. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
๒. กองทหารหน้า
๓. กองปืนใหญ่อาสาญวน
๒. กองทหารหน้า
๓. กองปืนใหญ่อาสาญวน
กอง ทหารหน้าเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกแบบใหม่ มีอาวุธใหม่ และมีทหารประจำการมากกว่าทหารหน่วยอื่น ๆ ทั้งยังมีความชำนาญในการรบมาพอสมควร เนื่องจากได้เข้าสมทบในกองทัพหลวงไปทำศึกที่เมืองเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ และ พ.ศ.๒๓๙๖ การศึกทั้ง ๒ ครั้งนี้ กองทหารหน้าได้สำแดงเกียรติภูมิในหน้าที่ของตนไว้อย่างน่าชมเชย จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก ยามปกติกองทหารหน้ามีหน้าที่เข้าขบวนแห่นำตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทุกคราว นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ปราบปรามพวกอั้งยี่ที่มณฑลปราจีน และเมืองชลบุรีอีกด้วย จึงนับได้ว่า " กองทหารหน้า " นี้เองเป็นรากเหง้าของกองทัพบกในปัจจุบันนี้
กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ.๒๓๙๘ พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ
๑. กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
๒. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
๓. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
๔. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
๒. กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
๓. กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
๔. กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
จะ เห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก ยังไม่มีกองบัญชาการกองทัพบกเป็นหน่วยควบคุมดูแลกิจการของกองทัพเป็นส่วนรวม สำหรับโรงทหารและสนามฝึกหัดทหารก็สุดแล้วแต่ว่าขึ้นอยู่กับผู้ใด ใครเป็นผู้บัญชาการของทหารหน่วยใด โรงทหารก็จะตั้งอยู่บริเวณบ้านท่านผู้นั้น
ขบวนทหารกำลังออกจากศาลายุทธนาธิการ (ตึกกระทรวงกลาโหม) สู่ถนนสนามไชยประมาณ พ.ศ.๒๔๔๑
เช่น พระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้บังคับบัญชาทหารอย่างยุโรป โรงทหารตั้งอยู่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงศ์ ณ ฝั่งแม่น้ำฟากตะวันตก มีสนามฝึกหัดอยู่ข้างวัดบุปผาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงศ์เป็นเจ้าพระยาที่สมุหพระกลาโหม กองทหารอย่างยุโรปจึงได้ข้ามฟากมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก และได้ปลูกโรงทหารและทำสนามฝึกหัดใหญ่โตมาก นอกจากนั้นยังมีโรงทหารสนามไชยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนโรงทหารรักษาพระองค์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอกริมกำแพงระหว่างประตูพิมานเทเวศร์ กับประตูวิเศษไชยศรี
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะทรงมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น ๒ ประการ คือ
๑. การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
๒. การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถ
รักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
๒. การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถ
รักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๑๕ ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย
สำหรับทางด้านทหารบก โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น ๗ หน่วย ดังนี้
กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กรมทหารรักษาพระองค์
กรมทหารล้อมวัง
กรมทหารหน้า
กรมทหารปืนใหญ่
กรมทหารช้าง
กรมทหารฝีพาย
กรมทหารรักษาพระองค์
กรมทหารล้อมวัง
กรมทหารหน้า
กรมทหารปืนใหญ่
กรมทหารช้าง
กรมทหารฝีพาย
ทหารบกทั้ง ๗ หน่วยนี้ มีเจ้านายและข้าราชการซึ่งเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ "นับว่าเป็นหน่วยต้นกำเนิดของความเจริญในกิจการทหารแบบใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งได้รับการฝึกที่ดีที่สุดในสมัยนั้น" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น ข้างประตูพิมานไชยศรี เป็นที่อยู่ของนายสิบและพลทหาร ส่วนนายทหาร โปรดให้สร้างตึก ๒ ชั้น ขึ้นที่ริมกำแพงด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังโปรดให้สร้างสโมสรทหารมหาดเล็ก หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า หอคองคอเดีย อีกด้วย
นอกจากกรมมหาดเล็กฯ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงทำนุบำรุง กรมทหารหน้า และกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นกรมทหารที่มีระเบียบและยุทธวิธีอย่างใหม่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เช่น โปรดให้ตั้ง "โรงเรียนคะเด็ตทหารหน้า"ขึ้นที่วังสราญรมย์ ในปีเดียวกันกับ "โรงเรียนทหารมหาดเล็ก" โรงเรียนทั้งสองนี้เป็นสถานที่วางรากฐานให้แก่วิชาชีพทหาร และเป็นแหล่งเตรียมบุคลากรเพื่อการปฏิรูปการทหารในระยะต่อมา สำหรับที่ตั้งของโรงทหารหน้า จากตำนาน กรมทหารบกราบที่ ๔ ได้กล่าวไว้ว่า "ระเบียบการปกครองในกรมทหารหน้าดีขึ้น และตั้งอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองทั้งกำลังและวิชา เพราะเหตุว่าได้รับพระบรมราชูปถัมภ์และความสามารถของผู้บังคับการ ได้เริ่มสร้างโรงทหารหน้าขึ้นเป็นตึกใหญ่ ซึ่งภายหลังปรากฏนามว่า ศาลายุทธนาธิการ ที่เป็นศาลาว่าการกลาโหมในปัจจุบันนี้"
ดังนั้น สถานที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพบกในรัชกาลนี้คือ ศาลาว่าการกลาโหม นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ ลง ต่อมาในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร ๓ ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ ความยุ่งยากทางการเมือง และในที่สุดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ใน พ.ศ.๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นทหารบกโดยอาชีพ กล่าวคือ ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากวิทยาลัยการทหารวูลลิช ประเทศอังกฤษ และวิชาเสนาธิการทหาร จากโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส พระองค์ทรงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำนุบำรุงกิจการทหารบกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่ปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและการขากแคลนงบประมาณแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดทอนรายจ่าย และส่งผลกระทบมาถึงกิจการทหารในสมัยของพระองค์ด้วย มีการยุบกรมกองและปลดข้าราชการตำแหน่งต่าง ๆ ลง ต่อมาในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยุบกระทรวงทหารเรือ รวมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ให้เสนบดีกระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการทหาร ๓ ฝ่าย คือ ทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ ปัญหาและผลสะท้อนจาการตัดทอนรายจ่ายในราชการทหารนี้เองเป็นสาเหตุนำไปสู่ ความยุ่งยากทางการเมือง และในที่สุดให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ใน พ.ศ.๒๔๗๕
กองบัญชาการกองทัพบก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เคยดำรงตำแหน่งชั้นสูงในกองทัพบก ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งจนหมด และได้มีการบรรจุบุคคลอื่นเข้าดำรงตำแหน่งแทน โดยมี นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ อย่างไรก็ตามงานในหน้าที่ผู้บังคับบัญชาทหารบกกลับอยู่ในมือของ นายพันเอก พระยาสุรเดช เนื่องจากมีความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาการทหารสูง จึงมีบทบาทในการจัดราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง พลโท ประยูร ภมรมนตรี ได้เล่าไว้ในหนังสือ "ชีวิติ ๕ แผ่นดินของข้าพเจ้า" ว่า "นายพันเอก พระยาสุรเดช ได้ย้ายกองบัญชาการบางส่วนไปไว้ที่ วังบางขุนพรหม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ แต่เข้าไปทำงานอยู่ไม่นาน ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้น พระยาทรงสุรเดช ได้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยมั่นหมายที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลในระดับสูง ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนเสียใหม่ แต่ไม่สำเร็จ"วังบางขุนพรหมจึงว่างลง แต่วังนี้ได้ถูกใช้เป็นที่ประชุมทางทหารที่สำคัญมากอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลางเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ในคราวนั้นรียกว่า "กองบังคับการทหารบกในวังบางขุนพรหม" โดยที่ประชุมได้มีมติสนับสนุนให้ พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จะเห็นได้ว่า วังบางขุนพรหม ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพบกเท่านั้น เพราะตัวกองบัญชาการกองทัพบกที่แท้จริงยังคงอยู่ภายในศาลาว่ากลาโหม
เมื่อเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ขณะนั้น ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้วยการนำกำลังกองทัพบกส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วจัดตั้งเป็นกองทัพพายัพขึ้น กับได้วางแผนการย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปอยู่เพชรบูรณ์ "ทั้งนี้เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยให้พ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น และในขณะเดียวกัน ก็พยายามรักษากำลังทัพของไทยมิให้กองทัพญี่ปุ่นปลดอาวุธ แผนการนี้เป็นแผนที่จะใช้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นป้อมปราการต่อสู้ตายกับศัตรู" เมื่อภัยสงครามได้ทวีความรุนแรงขึ้นใน พ.ศ.๒๔๘๖ กองบัญชาการกองทัพบกสนามได้อพยพส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ ไปตั้งที่ ตำบลวังรุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแผนการย้ายเมืองหลวงดังกล่าว
เมื่อสงครามยุติ ได้มีการปรับปรุงกองทัพบกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ.๒๔๙๑ ได้เปลี่ยนแปลงระเบียบการจัดส่วนราชการตามแบบกองทัพบกสหรัฐฯ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนกำลังรบ กองบัญชาการกองทัพบกที่อยู่ส่วนกลาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้เพิ่มส่วนการศึกษาขึ้นอีก รวมเป็น ๔ ส่วน ทั้งยังได้ตั้งสำนักงานเลขานุการกองทัพบกขึ้น ส่วนกลาง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ส่วนบัญชาการ" เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมา กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกหลังจากที่ได้สลายตัวไป เนื่องจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด ขึ้นใน พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบกจึงเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงแก้ไขการจัดส่วนราชการที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนส่งกำลังบำรุง ส่วนภูมิภาค และส่วนการศึกษา และยังคงใช้การจัดส่วนราชการเช่นนี้มาจนปัจจุบัน ส่วนบัญชาการ หรือกองบัญชาการกองทัพบกคงตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ควบคุม บังคับบัญชา และอำนวยการให้ดำเนินงานของกองทัพบก ทั้งในยามปกติและยามสงครามเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้อง รวดเร็ว และสำเร็จลุล่วงไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
กองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีที่ตั้งอยู่ภายในกระทรวงกลาโหมแล้ว ยังมีกองบัญชาการอีกสาวนหนึ่งอยู่ที่หอประชุมกองทัพบก และบริเวณสวนรื่นฤดี เขตดุสิต กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและแต่งตั้งให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่ในการสั่งการแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ โดยใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการฝ่ายทหาร ต่อมาในเดือนกันยายน เมื่อคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พร้อมใจกันยึดอำนาจจากรัฐบาล (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้ใช้หอประชุมกองทัพ เป็นกองบัญชาการผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แต่ได้ปิดลงในระยะเวลาอันสั้น แล้วตั้งเป็น กองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ ๒ ขึ้นแทน ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๐๓ ได้ใช้หอประชุมกองทัพบก เป็นกองบัญชาการกองทัพบก ส่วนที่ ๒ อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ตามแนวพรหมแดนมีปัญหาขัดแย้งบางประการ อันจะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และใน พ.ศ.๒๕๐๖ จอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ให้เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการกองทัพบกส่วนที่๒เป็นศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกและ ใช้เรียกชื่อนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่าศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกจะย้ายมาตั้ง ณ สวนรื่นฤดี ถนนสุโขทัย เขตดุสิต ก็ตาม
ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ปัจจุบันเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ประกอบด้วย สำนักงานผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการต่าง ๆ มีภารกิจในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และกำกับดูแลหน่วยรองของกองทัพบก และกำลังรบเฉพาะกิจในการปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ และความมั่นคงของรัฐในทุกรูปแบบ
กองบัญชาการกองทัพบกสมัยปัจจุบัน
เมื่อ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาเห็นว่า กองทัพบกเป็นสถาบันหลักสถานบันหนึ่งของประเทศ มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ตลอดจนเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่มีกองบัญชาการเป็นสัดส่วนของตนเองเช่นเหล่าทัพอื่น ทั้งยังได้อาศัยอาคารและสถานที่ของกระทรวงกลาโหมมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย สถานที่ดังกล่าวนอกจากจะคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศกับตนเองแล้ว ยังไม่สมเกียรติและศักดิ์ศรีของกองทัพบกอีกด้วย ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้สั่งการให้พิจารณาหาสถานที่ก่อสร้าง "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ ในระยะแรกได้พิจารณาเห็นว่า สถานที่บริเวณกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ บางเขน มีพื้นที่เพียงพอ การคมนาคมสะดวก แต่เรื่องนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากติดขัดทางด้านงบประมาณ
ครั้น เมื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ย้ายไปอยู่ ณ เขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก กองทัพบกพิจารณาเห็นว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ที่มีความสง่างาม มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานควบคู่กับกองทัพบก ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก นายทหารเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้สร้างเกียรติประวัติ คุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งนำความภาคภูมิใจมาสู่กองทัพบกอยู่เนือง ๆ นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่กว้างขวาง การคมนาคมสะดวก เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร และเป็นเส้นทางผ่านของแขกบ้านแขกเมือง หากกองทัพบกใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นกองบัญชาการกองทัพบก นอกจากจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของกองทัพบกและประเทศชาติได้อีกเป็นจำนวนมาก ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้สั่งการให้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็น กองบัญชาการกองทัพบก และได้กระทำพิธีเปิดที่ทำการของกองบัญชาการกองทัพบกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๙ สำหรับการกำหนดสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกองบัญชาการกองทัพบกในครั้งนั้น ได้กำหนดให้อาคารซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของส่วนราชการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม (ตรงข้ามสนามมวยราชดำเนิน) เป็นที่ตั้งของกรมฝ่ายเสนาธิการ ส่วนอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของส่วนการศึกษาเดิม (ตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นที่ตั้งของสำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบก และกรมการเงินทหารบก
ต่อ มาสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอใช้ที่ดินบริเวณส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม เพื่อขยายสถานที่ทำงานของทำเนียบรัฐบาล และเป็นศรีสง่ากับประเทศชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ อนุมัติหลักการให้สำนักนายกรัฐมนตรีใช้ที่ดินและอาคารสถานที่บริเวณส่วนการ ศึกษา โรงเรียนนายร้อยฯ เดิม และอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้กองทัพบกในการก่อสร้างอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" แห่งใหม่ บริเวณส่วนบัญชาการโรงเรียนนายร้อยฯ เดิม คณะกรรมการโครงการก่อสร้างกองบัญชาการกองทัพบก จึงได้พิจารณาออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่ทันสมัย เพื่อเป็นศูนย์รวมในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และฝ่ายเสนาธิการต่าง ๆ ของกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิธีวางศิลาฤกษ์กองบัญชาการกองทัพบกแห่งใหม่นี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ระหว่างเวลา ๐๘๔๙ - ๐๙๒๙ โดยมี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานในพิธี
ลักษณะอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นอาคารขนาดใหญ่ ประกอบด้วยอาคารย่อย ซึ่งแยกออกเป็น ๕ ส่วน โดยเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน (ดูผังลักษณะอาคาร)
สำหรับหน่วยที่ใช้สถานที่ภายในอาคาร "กองบัญชาการกองทัพบก" ปัจจุบันประกอบด้วย
อาคารส่วนที่ ๑
อาคารส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓
อาคารส่วนที่ ๔
อาคารส่วนที่ ๕
|
ประโยชน์ที่ได้รับ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพทหาร
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ได้กระจายข้อมูลให้คนอื่นได้รู้
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เผยแพร่ในโลกออนไลน์
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น